สถิติ
เปิดเมื่อ1/07/2014
อัพเดท29/07/2014
ผู้เข้าชม23691
แสดงหน้า27121
เมนู
ปฎิทิน
May 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
    
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31




บทความ

ระบอบนครรัฐกรีก
      การปกครองแบบนครรัฐของกรีกที่มีความหลากหลาย ส่งเสริมให้นครรัฐแต่ละแห่งมีโอกาสพัฒนารูปแบบและวิธีการปกครองของตนเอง นครรัฐสำคัญที่มีบทบาทพัฒนาอารยธรรมด้านการปกครอง ได้แก่ สปาร์ตาและเอเธนส์

      นครรัฐเอเธนส์
เอเธนส์ได้วิวัฒนาการการปกครอง เป็นสาธารณรัฐปกครองในรูปประชาธิปไตย รูปการปกครองแบบประชาธิปไตยของเอเธนส์แตกต่างจากประชาธิปไตยที่เข้าใจในสมัยปัจจุบันแต่ก็เป็นรูปการปกครองที่ให้สิทธิเสรีภาพมากที่สุดในสมัยโบราณ ที่แตกต่างจากประชาธิปไตยในปัจจุบันคือ
1. สิทธิในการปกครอง สงวนไว้สำหรับประชากรเพียง 1/6 เท่านั้น
2. สตรีไม่มีหน้าที่หรือสิทธิใดๆ นอกครัวเรือน
3. พลเมืองแต่ละคนใช้สิทธิในระบอบประชาธิปไตยของตนโดยตรง ไม่ต้องเลือกผู้แทนเข้าไปใช้สิทธิดังกล่าว
               จำนวนพลเมืองมีสิทธิไม่มาก จึงไม่จำเป็นต้องมีผู้แทน พลเมืองทุกคนจะร่วมประชุมสภาราษฎรและถกเถียงในปัญหาต่างๆ ได้อย่างอิสระ การโต้กันในสภาราษฎร อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างอาคารใหม่ วิธีการเกษตรแบบใหม่หรือการลงมตินำรัฐเข้าสู่สงคราม พลเมืองทุกคนมีสิทธิพูดและลงคะแนนเสียงเห็นด้วยหรือโต้แย้งญัตติใดๆ ด้วยตนเอง วิธีดังกล่าวเมื่อนำมาใช้กับรัฐปัจจุบันที่มีพลเมืองมากมายย่อมไม่เป็นผล
         พลเมืองชาวเอเธนส์มีสิทธิที่จะเข้าร่วมในคณะลูกขุนซึ่งพิจารณาคดีต่างๆ โดยใจสมัคร ในการพิจารณาคดี ผู้พิพากษาจะนั่งเป็นประธานเท่านั้น ส่วนการชี้ว่าผิดหรือถูก เป็นหน้าที่ของคณะลูกขุน ซึ่งประกอบด้วยพลเมือง มติต่างๆ ของสภาผู้แทนราษฎร จะมีคณะเจ้าหน้าที่บริหารเป็นผู้ดำเนินการ เจ้าหน้าที่บริหารเหล่านี้อาจเลือกขึ้นมาหรือจับฉลาก ได้รับเงินเดือนเพียงเล็กน้อย แต่ถือว่าเป็นเกียรติยศชื่อเสียง
           ชาวเอเธนส์ที่ได้รับตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารจะทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อรักษาเกียรติยศที่ตนได้รับชาวเอเธนส์รักนครรัฐของตนเป็นชีวิตจิตใจ ข้าวของเงินทองที่หามาได้ใช้บำรุงนครรัฐของตนให้สวยงาม น่าอยู่
              ชาวกรีกถกเถียงกันในปัญหาทุกเรื่องอย่างสงบและโดยปราศจากอคติ ทุกคนต่างเคารพสิทธิของผู้อื่นในการแสดงความคิดเห็น และถึงแม้ผู้อื่นจะไม่เห็นพ้องกับความคิดของตนหรือตนไม่เห็นด้วยกับความคิดของผู้อื่นก็ไม่ถือว่าคนทั้งสองเป็นศัตรูต่อกัน

  นครรัฐสปาร์ตา
         นครรัฐสปาร์ตา เป็นนครที่ใหญ่ที่สุดและทรงอำนาจแข็งแกร่งที่สุดในบรรดานครรัฐกรีกทั้งหลาย เป็นผู้นำทางด้านการทหาร เนื่องจากมีกองทัพที่มีระเบียบวินัยและเกรียงไกรที่สุด
(1) ประกอบขึ้นด้วยทหารที่มีความเสียสละอดทนและอุทิศชีวิตเพื่อความยิ่งใหญ่ของนครรัฐ
ประชาชนในนครรัฐสปาร์ตาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
1. สปาร์เตียตส์ (Spartites) เป็นพวกดอเรียนส์ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในสปาร์ตา ถือเป็นชาว สปาร์ตาโดยแท้ พวกนี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในนครรัฐ ทำหน้าที่เป็นทหารรัฐ
2. เปริโอซิ ((Perioeci) คำนี้ภาษากรีกแปลว่า ผู้ที่อาศัยอยู่โดยรอบ ได้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านโดยรอบนครรัฐสปาร์ตา เป็นชาวเลซีเดโมเนียนที่สืบเชื้อสายปะปนกันมา พวกนี้จัดเป็นเสรีชนและมีส่วนในกิจการต่างๆ ภายในหมู่บ้านของตน แต่ขาดสิทธิในทางการเมืองภายในนครรัฐ สปาร์ตา ขาดสิทธิในการสมรสกับหญิงสปาร์เตียตส์ มีหน้าที่ต่อรัฐคือรับราชการทหารและประกอบการ กสิกรรม
3. เฮล็อต (Helot) พวกนี้เป็นชนพื้นเมืองเดิม ที่อาศัยอยู่ในดินแดนนี้มาก่อน เมื่อพวกเลซีเดโมเนียนเข้ามาตั้งบ้านเรือน ก็ได้ปกครองคนเหล่านี้ในฐานะเป็นทาสของรัฐ มีหน้าที่ทำงานในที่ดินของผู้ที่เป็นนายและแบ่งผลประโยชน์ที่ได้จากที่ดินให้แก่ผู้ที่เป็นนาย พวกเฮล็อตนั้นเป็นชาวกรีกโดยแท้และมีจิตใจรักอิสรภาพเช่นชาวกรีกทั้งหลาย เมื่อมาถูกจำกัดอิสรภาพและลดฐานะก็เกิดความไม่พอใจ และมักปักใจอยู่กับการก่อการปฏิวัติ พวกสปาร์เตียตส์ก็ตระหนักในเรื่องนี้ดี ดังนั้น เมื่อมีการสงสัยว่าเฮล็อต คนใดคิดการปฏิวัติ ผู้นั้นจะได้รับโทษถึงประหารชีวิตทันที
             สาเหตุที่สปาร์ต้าไม่เป็นผู้นำในอารยธรรมกรีก
ในสมัยศตวรรษที่ 7 ที่หลักฐานเชื่อถือได้ว่าสปาร์ต้าเป็นผู้นำในอารยธรรมกรีก กวีเอกชาวกรีก ได้เขียนไว้ในโคลงของเขาบรรยายถึงการดำเนินชีวิตอย่างสุขสบายเต็มไปด้วยความสุขสงบ ความรักและความเพลิดเพลินในชีวิตของสปาร์ตาในสมัยศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาลนี้ เครื่องปั้นดินเผาที่ขุดพบก็แสดงถึงอารยธรรมที่สูงส่งของชาวสปาร์ต้า และชาวสปาร์ต้าก็มิได้อยู่อย่างโดดเดี่ยวแต่ก็มีการติดต่อกับพวกเอเซียติคกรีก (Asiatic Greek)
 
 
           ในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล สปาร์ต้าเริ่มไม่สนใจกับศิลปวิทยาการ และสูญเสียฐานะผู้นำทางอารยธรรมไปให้กับเอเธนส์ในที่สุด
                  
ซึ่งสาเหตุที่สปาร์ตาไม่เป็นผู้นำในอารยธรรมกรีกนั้น พอจะสรุปได้ดังนี้

      1. สปาร์ตาตั้งอยู่บนคาบสมุทรเพลอปปอนเนซุส ซึ่งเกือบจะถูกตัดขาดจากผืนแผ่นดินใหญ่มีเพียงคอคอดรินธ์ ์เชื่อมต่อกับกรีกตอนกลางล้อมรอบด้วยภูเขาทางตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตก ขาดท่าเรือดีๆ ที่จะติดต่อกับโลกภายนอก การรับถ่ายทอดอารยธรรมหรือการเผยแพร่อารยธรรมเป็นไปได้โดยลำบาก
    2. หวาดเกรงพวกเฮล็อตซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในความดูแลของสปาร์ตาจะก่อการกบฎแย่งชิงอำนาจจากพวกตนซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อยมาก สปาร์ตาเริ่มหวาดระแวงเกรงตนจะสูญเสียอำนาจ เร่งปรับปรุงทางด้านการทหารให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ไม่สนับสนุนการค้าหรือศิลปวิทยาการใดๆ ตัดการติดต่อกับโลกภายนอก ไม่ยอมรับแนวความคิดใหม่ๆ หรืออารยธรรมใดๆ ทั้งสิ้น ความคิดเห็นส่วนบุคคลและความคิดสร้างสรรค์ก็ถูกขัดขวางมิให้แสดงออกทำให้ชาวสปาร์ตาล้าหลังกว่านครรัฐอื่นๆ ในด้านศิลปวิทยาการและความนึกคิด
3. สปาร์ตาเชื่อว่าการหลงละเมออยู่ในความสุข ความสะดวกสบาย ความมั่งคั่งและศิลปะวิทยาการจะทำให้ปาร์ตาสูญเสียอำนาจในการเป็นรัฐผู้นำในคาบสมุทรเพลอปปอนเนซุสประกอบกับความหวาดระแวงในศัตรูตัวฉกาจคือนครรัฐอาร์กอส (Argos) จะแย่งชิงอำนาจจากตน ทำให้สปาร์ตา ไม่สนใจในการทำนุบำรุงศิลปวิทยาการเช่นนครรัฐเอเธนส์